Set Default Page Add to Favorites Send This Page to Friend ReadyPlanet.com
dot dot
dot
กู้เงินด่วน
dot
bulletประวัติกรมศุลกากร
bulletวิสัยทัศน์ - พันธกิจกรมศุลกากร
bulletโครงสร้างการบริหาร
bulletแผนที่ตั้งกรมศุลกากร
bulletโครงสร้างด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่
bulletแผนที่ตั้งด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่
bulletทำเนียบนายด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่
bulletคำรับรองการปฏิบัติราชการ
bulletสมุดโทรศัพท์
dot
บริการ
dot
bullete - Customs
bullete - Tracking
bulletข่าวกรมศุลกากร
bulletจุลสาร
bulletอัตราแลกเปลี่ยน
bulletบุคคลทั่วไป/นักท่องเที่ยว/ส่วนราชการ
dot
แบบฟอร์ม/คำร้องต่าง ๆ
dot
bulletแบบฟอร์มและคำร้อง
dot
พิธีการเฉพาะเรื่อง
dot
bulletการนำขอรับสิ่งของทางไปรษณีย์
bulletพิธีการศุลกากรสำหรับผู้โดยสาร
bulletการขอรับสิ่งของทางคลังสินค้ากรณีของใช้ส่วนตัว ของใช้ในครัวเรือน
dot
สถิติ / ข้อมูลนำเข้า-ส่งออก
dot
bulletมูลค่าการนำเข้า - ส่งออก สูงสุด 10 อันดับ ปี 2552
bulletมูลค่าการนำเข้า - ส่งออก สูงสุด 10 อันดับ ปี 2553
bulletมูลค่าการนำเข้า - ส่งออก สูงสุด 10 อันดับ ปี 2554
bulletมูลค่าการนำเข้า - ส่งออก สูงสุด 10 อันดับ ปี 2555
dot
ข้อมูลที่น่าสนใจ
dot
bulletสายการบินนานาชาติที่เชียงใหม่
bulletสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร
dot
ด่านศุลกากรในสังกัด ศภ.3
dot
bulletสำนักงานศุลกากรภาคที่ 3
bulletด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่
bulletด่านศุลกากรแม่สาย
bulletด่านศุลกากรแม่สอด
bulletด่านศุลกากรเชียงแสน
bulletด่านศุลกากรเชียงของ
bulletด่านศุลกากรแม่ฮ่องสอน
bulletด่านศุลกากรเชียงดาว
bulletด่านศุลกากรแม่สะเรียง
bulletด่านศุลกากรทุ่งช้าง
dot
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
dot
bulletกรมศุลกากร
bulletกระทรวงการคลัง
bulletกระทรวงพาณิชย์
bulletกระทรวงกลาโหม
bulletสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
bulletสำนักสืบสวนและปราบปราม
bulletกรมสอบสวนคดีพิเศษ
bulletกรมส่งเสริมการส่งออก
bulletกรมการค้าต่างประเทศ
bulletการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
bulletสมาคมผู้ประกอบการขนส่งภาคเหนือ
bulletกรมเจรจาการค้าต่างประเทศ
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมสรรพสามิต
bulletสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
bulletกรมศิลปากร
bulletกรมปศุสัตว์
bulletกรมประมง
bulletสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
bulletกระทรวงเกษตร
bulletสำนักงานปราบปรามยาเสพติด
dot
จังหวัดในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง
dot
bulletจังหวัดเชียงใหม่
bulletจังหวัดลำพูน
bulletจังหวัดลำปาง
bulletจังหวัดแพร่
dot
รวม web ที่น่าสนใจ
dot
bulletเครือข่ายกาญจนาภิเษก
bulletรัฐบาลไทย
bulletท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
bulletสนง. คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.ร)
bulletราชบัณฑิตยสถาน
bulletคนไทยดอทคอม
bulletอินเตอร์เน็ตตำบล




พิธีการนำเข้าของใช้ในบ้านเรือน article

 การนำเข้าของใช้ในบ้านเรือนที่ใช้แล้ว

ชาวไทยที่อยู่ต่างประเทศเกินกว่า 1ปี ที่ไม่ได้อยู่เพื่อการท่องเที่ยว มีสิทธิ์นำเข้าของใช้ในบ้านเรือนโดยปราศจากภาระภาษีอากร นอกจากนี้ชาวต่างประเทศที่ย้ายภูมิลำเนามายังประเทศไทยอาจนำเข้าของใช้ใน บ้านเรือนโดยปราศจากภาระภาษีอากรเช่นกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานะดังจะแสดงด้านล่างนี้

คำว่า “ของใช้ในบ้านเรือน” รวมถึงสินค้าทุกชนิดที่จำเป็นจะมีไว้ในบ้านเรือน เช่น เฟอร์นิเจอร์ พรม หนังสือ เครื่องดนตรี ภาพวาด เครื่องครัว วิทยุ ผ้าลินิน และของตกแต่งบ้าน เป็นต้น ผู้นำเข้าต้องเป็นเจ้าของ ครอบครอง และใช้ของใช้เหล่านี้ก่อนกลับประเทศไทยเพื่อได้รับสิทธิในการนำเข้าโดย ปราศจากภาระภาษีอากร ความเป็นเจ้าของ การครอบครอง และการใช้งานเป็น 3 เงื่อนไขสำคัญในเรื่องนี้ ตัวอย่างเช่น หากของเหล่านี้มีการโอน และครอบครอง โดยไม่ได้ใช้งาน ผู้นำเข้าต้องชำระค่าภาษีอากร

ของใช้ส่วนตัวที่เจ้าของนำติดตัวมาด้วยขณะเดินทางเข้าหรือออกจากประเทศ ไทยรวมทั้งสินค้าอื่นๆที่ใช้หรือจะใช้เพื่อการค้าไม่ถือว่าเป็นของใช้ในบ้าน เรือนที่ใช้แล้วและไม่สามารถนำเข้าโดยปราศจากภาระภาษีอากรได้

หมายเหตุยานพาหนะ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และยาสูบ ไม่จัดอยู่ในกลุ่มที่ได้รับการยกเว้นภาษีอากร

หลักเกณฑ์การพิจารณายกเว้นอากรของใช้ในบ้านเรือนที่ใช้แล้ว

ของใช้ในบ้านเรือนที่จะได้รับการยกเว้นอากรขาเข้าได้ ผู้นำเข้าจะต้องเป็นบุคคลที่ได้ย้ายภูมิลำเนาเข้ามาตั้งในประเทศไทย ไม่ว่าเป็นคนไทยหรือชาวต่างประเทศ และจำนวนของใช้ในบ้านเรือนที่จะยกเว้นอากรให้ได้ จะพิจารณาเท่าที่เป็นจำนวนพอสมควรที่พึงมีพึงใช้ตามปกติวิสัย และผ่านการใช้งานแล้ว โดยต้องเป็นของที่นำเข้ามาจากประเทศซึ่งผู้นำเข้ามีภูมิลำเนาอยู่ก่อนที่จะ ย้ายเข้ามามีภูมิลำเนาในประเทศไทย

สำหรับของใช้ในบ้านเรือนที่เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ตู้เย็น เครื่องอบไมโครเวฟ ตู้อบ เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น ถ้ามีการนำเข้ามาก็จะยกเว้นให้เพียง 1 เครื่อง ถ้ามีมากกว่า 1 เครื่อง จะยกเว้นอากรให้เพียง 1 เครื่องเท่านั้น ยกเว้นการย้ายภูมิลำเนาทั้งครอบครัว ให้ได้รับยกเว้นอากรได้อย่างละ 2 เครื่อง และเครื่องที่ยกเว้นค่าอากรให้นั้นต้องเป็นเครื่องที่มีค่าอากรต่ำสุด

ของใช้ในบ้านเรือนดังกล่าว จะต้องนำเข้ามาถึงประเทศไทยไม่เกิน 1 เดือน ก่อนผู้นำของเข้ามาถึง หรือไม่เกิน 6 เดือนนับแต่วันที่ผู้นำของเข้าเข้ามาถึง กรมศุลกากรมีอำนาจขยายกำหนดเวลาที่กล่าวข้างต้นได้ หากเห็นว่ามีพฤติการณ์พิเศษ

หลักเกณฑ์การพิจารณาการย้ายภูมิลำเนา

ชาวต่างประเทศชาวต่างประเทศอาจนำ เข้าของใช้ในบ้านเรือนที่ใช้แล้วจากต่างประเทศโดยปราศจากภาระภาษีอากร หากของเหล่านั้นมาในฐานะเป็นของใช้ในบ้านเรือนที่ใช้แล้ว และผู้นำเข้ามีคุณสมบัติตามเงื่อนไขต่อไปนี้

  1. ชาวต่างประเทศที่ย้ายภูมิลำเนาเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักร ต้องเป็นผู้ได้รับโควต้าเข้าเมืองตามที่ ปรากฏในหนังสือเดินทาง หรือบัตรประจำตัวคนต่างด้าว หรือ
  2. ชาวต่างประเทศได้รับอนุญาตให้เข้ามาประกอบอาชีพในราชอาณาจักร จะได้รับการอนุโลมให้ถือว่าย้ายภูมิลำเนาต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงานตรวจคน เข้าเมืองว่าบุคคลผู้นี้จะให้อยู่ได้ไม่ต่ำกว่า 1 ปี กรณีที่ยังไม่ได้รับอนุญาตแต่เป็นเรื่องรีบด่วนต้องยื่นเอกสารอย่างใดอย่าง หนึ่งประกอบการพิจารณา คือ
    (2.1)     หนังสือสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองรับรองว่าจะได้รับอนุญาตให้อยู่ชั่วคราวเป็น ปีๆ ไป
    (2.2)     หนังสืออนุญาตของกรมแรงงานว่า ได้รับอนุญาตให้ประกอบอาชีพในประเทศแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
  3. ชาวต่างประเทศที่เข้ามาในฐานะผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญการพิเศษ หรือภายใต้สัญญาจ้างของหน่วยราชการ ต้องมีหนังสือหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง รับรองว่าบุคคลผู้นั้นได้รับอนุญาตจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองให้อยู่ใน ประเทศในประเภท NON IMMIGRANT แล้ว และจะอยู่ปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 1 ปี

กรณีชาวต่างประเทศตาม (2) และ (3) มีสามีหรือภรรยาของตนติดตามมาด้วย และได้รับอนุญาตจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองให้อยู่ในประเทศไทยได้ครั้งแรก 90 วัน ก็ให้ถือว่าผู้ติดตามนั้นย้ายภูมิลำเนาเข้ามาอยู่ในประเทศไทย

หมาย เหตุ ชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรประเภท Non-Immigrant O ที่เข้ามาใช้ชีวิตบั้นปลาย หรือ ติดตามภรรยาชาวไทยเข้ามาไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ตาม (1)

ชาวไทย: ชาวไทยอาจนำเข้าของใช้ในบ้านเรือนที่ใช้แล้วจากต่างประเทศโดยปราศจากภาระ ภาษีอากร หากของเหล่านั้นมาในฐานะเป็นของใช้ในบ้านเรือนที่ใช้แล้ว และผู้นำเข้ามีคุณสมบัติตามเงื่อนไขต่อไปนี้

  1. ชาวไทยหรือข้าราชการไทยที่ไปทำงาน หรือดำรงตำแหน่งหรือดูงานในต่างประเทศต้องอยู่ประจำเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี กรณีที่ต้องเดินทางกลับก่อนกำหนด 1 ปี ต้องมีหลักฐานมาแสดงว่าได้เดินทางกลับเนื่องจากสิ้นสุดสัญญาการจ้าง หรือได้รับคำสั่งให้ย้ายกลับมาปฏิบัติหน้าที่ในราชอาณาจักร หรือเสร็จสิ้นการดูงานก่อนกำหนด
  2. ชาวไทยที่ไปอยู่ประจำในต่างประเทศในกรณีอื่นเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี ต้องให้คำรับรองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าจะกลับเข้ามามีภูมิลำเนาในประเทศ ไทย
  3. นักเรียนไทย หรือข้าราชการไทยที่ไปศึกษาวิชา หรือดูงานในต่างประเทศไม่ต่ำกว่า 1 ปี

เอกสาร

  • ใบขนสินค้าขาเข้า กศก. 99/1
  • หนังสือเดินทาง
  • กรณีเป็นชาวต่างประเทศที่ย้ายภูมิลำเนามาอยู่ใน ประเทศไทยต้องมีหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
  1. หนังสือสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองรับรองว่าจะได้รับอนุญาตให้อยู่ชั่วคราว เป็นปีๆ ไป
  2. หนังสืออนุญาตของกรมการจัดหางานว่า ได้รับอนุญาตให้ประกอบอาชีพในประเทศไทยแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
  3. ชาวต่างประเทศที่เข้ามาในฐานะผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญการพิเศษ หรือภายใต้สัญญาจ้างของหน่วยราชการ ต้องมีหนังสือของหน่วยราชการนั้นๆ รับรองว่าบุคคลผู้นั้นได้รับอนุญาตจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองให้อยู่ใน ประเทศในประเภท NON IMMIGRANT แล้ว และจะอยู่ปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 1 ปี
  • กรณีชาวไทยต้องแสดงหลักฐานแสดงว่ามีการย้ายภูมิลำเนา เช่น ใบรับรองจบการศึกษา คำสั่งย้าย หนังสือสัญญาสิ้นสุดการจ้าง
  • ใบตราส่งสินค้า
  • บัญชีราคาสินค้า  (ถ้ามี)
  • ใบสั่งปล่อยสินค้า
  • บัญชีรายการสิ่งของ  หรือเอกสารซื้อขาย (ถ้ามี)
  • ใบอนุญาต กรณีเป็นสินค้าควบคุมการนำเข้า
  • แบบคำร้องขอยกเว้นอากร และ
  • เอกสารอื่น ๆ เช่น หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

 

ขั้นตอนการปฏิบัติพิธีการนำเข้าของใช้ในบ้านเรือน

เมื่อผู้นำเข้ามาถึงประเทศไทย ให้ไปติดต่อสำนักงานศุลกากรที่ท่าที่นำเข้าเพื่อดำเนินพิธีการนำของใช้ใน บ้านเรือนออกจากอารักขาศุลกากร ผู้นำเข้าต้องเตรียมเอกสารที่จำเป็นเพื่อใช้สิทธิในการนำเข้าของใช้ในบ้าน เรือนโดยปราศจากภาระภาษีอากร และดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้

  • ผู้นำเข้าหรือตัวแทนยื่นคำร้องขอยกเว้นอากร ใบขนสินค้าและเอกสารประกอบต่อ สำนักงานศุลกากร / ด่านศุลกากรที่นำเข้า
  • กรมศุลกากรจะทำการตรวจสอบเอกสารและพิจารณาการยกเว้นอากร หากมีของใช้ในบ้านเรือนเข้ามาแต่ไม่มีลักษณะได้รับยกเว้นอากร กรมศุลกากรก็จะดำเนินการเรียกเก็บอากรตามปกติ
  • ผู้นำเข้าหรือตัวแทนไปชำระอากร(ถ้ามี)ที่ฝ่ายการเงิน จากนั้นไปติดต่อส่วนตรวจปล่อยสินค้าเพื่อขอรับสินค้า
  • นายตรวจศุลกากรและ/หรือสารวัตรศุลกากร ตรวจของว่าตรงตามสำแดงหรือไม่ หากถูกต้องจะอนุญาตให้ผู้นำเข้านำของออกจากอารักขาศุลกากรได้



พิธีการศุลกากร

การชำระภาษี article
การชดเชยค่าภาษีอากร article
การสำแดงเงินตราต่างประเทศ article
สินค้าตามประกาศสาธารณสุข article
ของต้องห้ามและของต้องกำกัด article
การวิเคราะห์สินค้า article
ใบสุทธินำกลับ article
พิธีการศุลกากรอื่น ๆ article
พิธีการศุลกากรไปรษณีย์ article
พิธีการ A.T.A CARNET article
พิธีการนำเข้าของเอกสิทธิ์หรือของที่ได้รับบริจาค article
พิธีการนำเข้ายานพาหนะส่วนบุคคล article
การนำเข้าของเพื่อจัดการประชุมระหว่างประเทศ article
พิธีการส่งออก article
พิธีการนำเข้า article



เงินด่วนนอกระบบ โอนเข้าบัญชี