ReadyPlanet.com
dot dot
dot
กู้เงินด่วน
dot
bulletประวัติกรมศุลกากร
bulletวิสัยทัศน์ - พันธกิจกรมศุลกากร
bulletโครงสร้างการบริหาร
bulletแผนที่ตั้งกรมศุลกากร
bulletโครงสร้างด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่
bulletแผนที่ตั้งด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่
bulletทำเนียบนายด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่
bulletคำรับรองการปฏิบัติราชการ
bulletสมุดโทรศัพท์
dot
บริการ
dot
bullete - Customs
bullete - Tracking
bulletข่าวกรมศุลกากร
bulletจุลสาร
bulletอัตราแลกเปลี่ยน
bulletบุคคลทั่วไป/นักท่องเที่ยว/ส่วนราชการ
dot
แบบฟอร์ม/คำร้องต่าง ๆ
dot
bulletแบบฟอร์มและคำร้อง
dot
พิธีการเฉพาะเรื่อง
dot
bulletการนำขอรับสิ่งของทางไปรษณีย์
bulletพิธีการศุลกากรสำหรับผู้โดยสาร
bulletการขอรับสิ่งของทางคลังสินค้ากรณีของใช้ส่วนตัว ของใช้ในครัวเรือน
dot
สถิติ / ข้อมูลนำเข้า-ส่งออก
dot
bulletมูลค่าการนำเข้า - ส่งออก สูงสุด 10 อันดับ ปี 2553
bulletมูลค่าการนำเข้า - ส่งออก สูงสุด 10 อันดับ ปี 2554
bulletมูลค่าการนำเข้า - ส่งออก สูงสุด 10 อันดับ ปี 2555
bulletมูลค่าการนำเข้า - ส่งออก สูงสุด 10 อันดับ ปี 2556
bulletมูลค่าการนำเข้า - ส่งออก สูงสุด 10 อันดับ ปี 2557
dot
ข้อมูลที่น่าสนใจ
dot
bulletสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร
dot
ด่านศุลกากรในสังกัด ศภ.3
dot
bulletสำนักงานศุลกากรภาคที่ 3
bulletด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่
bulletด่านศุลกากรแม่สาย
bulletด่านศุลกากรแม่สอด
bulletด่านศุลกากรเชียงแสน
bulletด่านศุลกากรเชียงของ
bulletด่านศุลกากรแม่ฮ่องสอน
bulletด่านศุลกากรเชียงดาว
bulletด่านศุลกากรแม่สะเรียง
bulletด่านศุลกากรทุ่งช้าง
dot
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
dot
bulletกรมศุลกากร
bulletกระทรวงการคลัง
bulletกระทรวงพาณิชย์
bulletกระทรวงกลาโหม
bulletสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
bulletสำนักสืบสวนและปราบปราม
bulletกรมสอบสวนคดีพิเศษ
bulletกรมส่งเสริมการส่งออก
bulletกรมการค้าต่างประเทศ
bulletการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
bulletสมาคมผู้ประกอบการขนส่งภาคเหนือ
bulletกรมเจรจาการค้าต่างประเทศ
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมสรรพสามิต
bulletสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
bulletกรมศิลปากร
bulletกรมปศุสัตว์
bulletกรมประมง
bulletสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
bulletกระทรวงเกษตร
bulletสำนักงานปราบปรามยาเสพติด
dot
จังหวัดในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง
dot
bulletจังหวัดเชียงใหม่
bulletจังหวัดลำพูน
bulletจังหวัดลำปาง
bulletจังหวัดแพร่
dot
รวม web ที่น่าสนใจ
dot
bulletเครือข่ายกาญจนาภิเษก
bulletรัฐบาลไทย
bulletท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
bulletสนง. คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.ร)
bulletราชบัณฑิตยสถาน
bulletคนไทยดอทคอม
bulletอินเตอร์เน็ตตำบล




พิธีการศุลกากรสำหรับผู้โดยสาร

 

พิธีการศุลกากรกรณีเดินทางเข้า-ออกราชอาณาจักร

เพื่อเป็นการบังคับใช้กฎหมาย เจ้าหน้าที่ศุลกากรสามารถขอให้ผู้เดินทางหรือนักท่องเที่ยวหยุดเพื่อตรวจสอบ อันมิได้หมายความว่าผู้เดินทางหรือนักท่องเที่ยวนั้นเป็นผู้ต้องสงสัยว่า กระทำความผิดใดๆ ผู้โดยสารที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยไม่มีของต้องเสียภาษีต้องห้าม ของต้องกำกัด ให้ผ่านพิธีศุลกากรต่อเจ้าหน้าที่ประจำช่องตรวจสีเขียว ส่วนผู้โดยสารที่มีของเสียภาษีอากรต้องห้าม ของต้องกำกัด หรือไม่แน่ใจว่าของที่นำเข้ามานั้นเป็นของดังกล่าวหรือไม่ให้ผ่านพิธีศุลกากรต่อเจ้าหน้าที่ประจำช่องตรวจสีแดง

1. ของทุกชนิดที่นำเข้ามาในประเทศต้องเสียภาษีศุลกากรตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ร.ก. พิกัดอัตราศุลกากร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง การเสียภาษีอากรปากระวางสำหรับของติดตัวผู้โดยสารอยู่ภายใต้หลักเกณฐ์และเงื่อนไข ดังนี้
  •  เป็นของที่นำเข้ามาใช้เอง มีจำนวนเห็นได้ชัดว่ามิใช่เพื่อการค้า
  •  ของมีมูลค่าไม่เกิน 100,000 บาท 
  •  ผู้โดยสารต้องสามารถชำระค่าภาษีอากรเป็นเงินสดได้ในวันนำเข้า

กรณี ไม่เข้าหลักเกณฑ์ดังกล่าว เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะส่งของทั้งหมด ไปปฏิบัติพิธีการศุลกากรที่ฝ่ายบริการศุลกากรที่ 1  ด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่ (อาคารคลังสินค้าบริษัทการบินไทย ท่าอากาศยานเชียงใหม่) ของจะอยู่ในอารักขาของศุลกากรจนกระทั่งการปฏิบัติพิธีการศุลกากรเสร็จสิ้น กระบวนการ หลังจากนั้นผู้เดินทางหรือนักท่องเที่ยวจึงสามารถรับของออกจากอารักขาของ ศุลกา

 

2. ของใช้ส่วนตัวที่เจ้าของนำเข้ามาพร้อมกับตนสำหรับใช้เอง หรือใช้ในวิชาชีพและมีจำนวนพอสมควรแก่ฐานะ (ทั้งนี้ไม่รวมถึง ของต้องห้าม ของต้องกำกัด และเสบียง) มูลค่าไม่เกิน 20,000 บาท ได้รับยกเว้นอากร

ของใช้ส่วนตัวสำหรับใช้เอง เช่น เครื่องแต่งกาย เครื่องสำอาง เครื่องประดับ รองเท้า นาฬิกา แว่นตา น้ำหอม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีเอกสารใบเสร็จเป็นหลักฐาน หากไม่มีเจ้าหน้าที่ศุลกากรจะพิจารณาตามหลักฐานอื่นประกอบ แต่ของใช้ส่วนตัวดังต่อไปนี้จะต้องมีปริมาณไม่เกินที่กำหนด

  •  บุหรีไม่เกิน 200 มวน หรือซิการ์และยาเส้น น้ำหนักไม่เกิน 250 กรัม
  •  สุรา 1 ลิตร

 

3.

ของใช้ในบ้านเรือนที่ใช้แล้วที่เจ้าของนำเข้ามาพร้อมกับตนและเนื่องจากการย้ายภูมิลำเนาและมีจำนวนพอสมควรกับฐานะได้รับยกเว้นอากรของใช้ในบ้านเรือน เช่น โทรทัศน์ วิทยุ วิดีทัศน์ เครื่องโทรสาร เป็นต้น

   ของใช้ดังกล่าวแม้จะได้รับการยกเว้นอากรแต่จะต้องผ่านพิธีการศุลกากรต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรประจำช่องตรวจสีแดง

 

การลงโทษผู้กระทำผิดกฏหมายศุลกากรและกฏหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

 ผู้โดยสารที่นำของต้องชำระค่าภาษีอากร ของต้องห้าม ของต้องกำกัดเข้ามาในประเทศไทยโดยไม่สำแดงหรือสำแดงไม่ถูกต้องจะได้รับโทษตามกฎหมายศุลกากรดังนี้

1. กรณีเจ้าหน้าที่ตรวจพบและจับกุมผู้ต้องหาขณะอยู่ในช่องเขียว (GREEN CHANNEL) หรือผ่านพ้นช่องเขียวออกไปแล้วแต่ยังไม่พ้นห้องตรวจผู้โดยสารของท่าอากาศยาน ให้ยกของกลางเป็นของแผ่นดิน
2. ในกรณีเจ้าหน้าที่ตรวจพบและจับกุมผู้ต้องหาภายหลังผ่านพ้นห้องตรวจ ของผู้โดยสารท่าอากาศยาน ให้ปรับสองเท่าของราคาของรวมค่าอากร กับอีกเท่าของภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต ภาษีเพื่อมหาดไทย และภาษีอื่นๆ (ถ้ามี) และให้ยกของ
  กลางเป็นของแผ่นดิน
3. ในกรณีที่ของกลางเป็นของที่ไม่ต้องชำระอากรศุลกากร ไม่ว่าตรวจพบ ณ ที่ใด ให้ยกของกลางเป็นของแผ่นดิน

 

พิธีการศุลกากรกรณีเดินทางออกนอกราชอาณาจักร

1. กล้องถ่ายรูป กล้องวีดีทัศน์ คอมพิวเตอร์สำหรับพกพา ผู้โดยสารต้องนำของดังกล่าวแสดงต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรเพื่อบันทึกรายละเอียดและสำเนาเอกสารไว้สำหรับแสดงต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรช่องตรวจสีแดงในวันเดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทย
2. อัญมณีหรือเครื่องประดับให้ปฎิบัติพิธีการศุลกากร ณ ฝ่ายบริการศุลกากรที่ 1 ด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่
3. ของที่ขอชดเชยหรือขอคืนเงินอากรตามมาตรา 19ทวิ หรือมีใบสุทธินำกลับให้ปฎิบัติพิธีการส่งออก ณ ฝ่ายบริการศุลกากรที่ 1 ด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่
   

พิธีการศุลกากรกรณีพิเศษ

  ของต้องห้ามและของต้องกำกัด
1.  ของต้องห้าม  หมายถึงของที่มีกฎหมายกำหนดห้ามนำเข้ามาหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรโดยเด็ดขาด และในบางกรณีห้ามการส่งผ่านด้วย ผู้ใดนำสินค้าต้องห้ามเข้ามาหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรจะมีความผิดต้องรับโทษตาม 
  กฎหมายที่เกี่ยวข้องและเป็นความผิดตามมาตรา 27 และ 27ทวิ ของกฎหมายศุลกากรด้วย ตัวอย่างสินค้าต้องห้ามในการนำเข้า-ส่งออก มีดังนี้
   
  1.1 วัตถุลามก การนำเข้าและส่งออกวัตถุลามก ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบหนังสือ ภาพเขียน ภาพพิมพ์ ภาพระบายสี สิ่งที่พิมพ์ขึ้น รูปภาพ ภาพโฆษณา เครื่องหมาย รูปถ่าย และภาพยนตร์ลามกหรือวัตถุลามกอื่น ๆ 
  1.2  สินค้าที่มีตราหรือลวดลายเป็นรูปธงชาติ 
  1.3  ยาเสพติดให้โทษ
  1.4  เงินตรา พันธบัตร ใบสำคัญรับดอกเบี้ยพันธบัตรอันเป็นของปลอมหรือแปลงเหรียญกษาปณ์ที่ทำให้น้ำหนักลดลงโดยทุจริต ดวงตราแผ่นดิน รอยตราแผ่นดินหรือพระปรมาภิไธย ดวงตราหรือรอยตราของทางราชการอันเป็นของปลอม 
  1.5  สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น แถบบันทึกเสียง (เทปเพลง) แผ่นบันทึกเสียง (คอมแพคดิสก์) แถบบันทึกภาพ (วีดีโอเทป) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หนังสือ หรือสินค้าอื่นใดที่ทำซ้ำหรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่น
  1.6  สินค้าปลอมแปลงหรือเลียนแบบเครื่องหมายการค้า
     
2. 

ของต้องกำกัด  หมายถึงสินค้าที่มีกฎหมายกำหนดว่าหากจะมีการนำเข้า-ส่งออก หรือผ่านราชอาณาจักร จะต้องได้รับอนุญาตหรือปฏิบัติให้ครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายนั้นๆ เช่น ต้องมีใบอนุญาตการนำเข้าและส่งออก ต้องปฏิบัติตาม

  ประกาศอันเกี่ยวกับฉลากหรือใบรับรองการวิเคราะห์ หรือเอกสารกำกับยา เป็นต้น ผู้ใดนำของต้องกำกัดเข้ามา หรือส่งออก หรือส่งผ่านราชอาณาจักรโดยมิได้รับอนุญาตหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายที่กำหนดไว้ให้ครบถ้วน จะมีความผิดตามที่
 

กำหนดไว้ในกฎหมายนั้นๆ และเป็นความผิดตามมาตรา 27 และ 27ทวิ ของกฎหมายศุลกากรด้วย ตัวอย่างสินค้าที่มีมาตรการนำเข้า,สินค้าที่มีมาตรการส่งออก,สินค้ามาตรฐานและมาตรฐานสินค้า สามารถดูได้ที่ กรมการค้าต่างประเทศ จัด
ระเบียบเพื่อควบคุมการนำเข้าหรือส่งออก มีดังนี้

  2.1 เงินตราไทยและเงินตราต่างประเทศ                                                                                                                                                                                      
  2.2 พันธุ์ยางและยางธรรมชาติ
  2.3 ยาสูบ รวมถึงต้นยาสูบและใบยาเส้น
  2.4 สัตว์และซากสัตว์
  2.5 เครื่องวิทยุคมนาคม และส่วนแห่งเครื่องวิทยุคมนาคม
  2.6 อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน
  2.7 วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน
  2.8 ยา เชื้อโรค และพิษจากสัตว์
  2.9 สุรา
  2.10 สินค้าประเภทอาหารที่มีความหวานเจือปน
  2.11 เครื่องชั่ง ตวง วัด

 

 เงินตรา

เงินตราไทย นำเข้าได้ไม่จำกัดจำนวน แต่นำออกได้ไม่เกิน 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) ยกเว้นนำออกไปยังประเทศเมียนมาร์ ลาว กัมพูชา มาเลเซีย เวียดนาม และจีน (เฉพาะมณฑลยูนนาน) ได้ไม่เกิน 2,000,000 บาท (สองล้านบาทถ้วน) กรณีนำเงินบาทออกเกิน 450,000 บาท ต้องสำแดงต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรตามแบบที่กำหนด การนำเงินตราไทยออกนอกประเทศมากกว่าจำนวนที่กำหนดจะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานผ่านธนาคารที่ได้รับอนุญาตและนำต้นฉบับเอกสาร ธ.ต.5 มาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรขณะผ่านของตรวจผู้โดยสารขาออก

เงินตราต่างประเทศ นำเข้าและออกได้โดยไม่จำกัดจำนวน


การฝากเก็บของไว้ในอารักขาของศุลกากร

ผู้โดยสารเข้ามาในประเทศไทยและมีของต้องอากร ของต้องกำกัด ซึ่งไม่มีความมุ่งหมายจะนำมาใช้ในประเทศไทยจะต้องแจ้งและแสดงตั๋วเดินทางไปยังประเทศที่สาม ณ เวลาที่ฝาก จึงจะสามารถฝากของดังกล่าวไว้ในอารักขาของศุลกากรได้เป็นระยะเวลาไม่เกิน 2 เดือน

ในวันเดินทางออกนอกราชอาณาจักร ผู้โดยสารขอรับของดังกล่าวคืนได้ โดยแจ้งเจ้าหน้าที่สายการบินขณะยื่นตั๋วเดินทาง และต้องเสียค่าธรรมเนียมแก่ราชการในอัตราที่กำหนด


การใช้เอกสารค้ำประกัน เอ.ที.เอ.คาร์เนท์

ผู้โดยสารนำของเข้าประเทศไทยเป็นการชั่วคราวเพื่อเป็นตัวอย่างสินค้า เพื่อแสดงนิทรรศการ เพื่อใช้ในวิชาชีพหรือเพื่อวัตถุประสงค์ทางวิทยาศาสตร์ และจะส่งกลับออกไปโดยใช้เอกสารค้ำประกัน เอ.ที.เอ.คาร์เนท์ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ศุลกากรประจำ
ช่องตรวจสีแดงและผ่านพิธีการศุลกากร ณ ที่ทำการศุลกากรขาเข้า ฝ่ายควบคุมและตรวจสอบทางศุลกากร ด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่ และในวันเดินทางออกนอกราชอาณาจักร ผู้โดยสารต้องยื่นเอกสารค้ำประกัน เอ.ที.เอ.คาร์เนท์ พร้อมนำของดังกล่าวแสดงต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรขาออกเพื่อตรวจสอบ มิเช่นนั้นจะถือว่าของนั้นมิได้มีการส่งกลับออกไป และจะถูกเรียกเก็บภาษีอากรภายหลัง สำหรับผู้นำของออกนอกราชอาณาจักรชั่วคราว และจะนำกลับเข้ามาในราชอาณาจักรในภายหลังโดยใช้หนังสือค้ำประกัน เอ.ที.เอ.คาร์เนท์ จะต้องปฎิบัติพิธีการศุลกากรในทำนองเดียวกับการนำเข้า


การคืนภาษีมูลค่าเพิ่มของนักท่องเที่ยว

นักท่องเที่ยวที่มีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มต้อง
1. ไม่เป็นผู้ที่มีสัญชาติไทยและไม่ได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ถึง 180 วันในปีภาษี                                                                                                                                                                                                                                                                       
2. ไม่เป็นนักบินหรือลูกเรือของสายการบินที่เดินทางออกจากประเทศไทย
3. เดินทางออกจากประเทศไทยโดยเครื่องบิน ณ ท่าอากาศยานระหว่างประเทศ

 ขั้นตอนการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม

ฝ่ายควบคุมและตรวจสอบทางศุลกากร ด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่ให้บริการตรวจรับรองสินค้าที่ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มแก่ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ณ ห้องผู้โดยสารขาเข้าระหว่างประเทศ ก่อนที่ผู้โดยสารจะนำของ CHECK IN ที่เคาน์เตอร์ของสายการบิน การตรวจสอบจะปฏิบัติ ดังนี้

   

เจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจสอบหนังสือเดินทางและรายการสินค้าที่ระบุในใบคำร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับนักท่องเที่ยว (ภ.พ.10) ของผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรพร้อมใบกำกับภาษีที่นำมาแสดง

  (ก.) กรณีตรวจพบรายการสินค้าครบถ้วน ถูกต้อง จะรับรองสินค้าครบจำนวนในช่องสำหรับศุลกากรในใบคำร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมทั้งลงลายมือชื่อและประทับตราศุลกากรไว้เป็นหลักฐาน
  (ข.) กรณีตรวจพบรายการสินค้าไม่ครบจำนวน จะขีดฆ่ารายการสินค้าที่ไม่พบในใบคำร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มออกพร้อมลงลายมือชื่อกำกับและให้ระบุหมายเลขรายการที่ไม่พบไว้ในช่องสำหรับศุลกากร รวมทั้งลายมือ ชื่อและประทับตราศุลกากร
    ไว้เป็นหลักฐาน
  (ค.) ส่งมอบหีบห่อสัมภาระหรือกระเป๋าเดินทางที่บรรจุสินค้านั้นให้ ผู้เดินทางพร้อมใบคำร้อง(ภ.พ.10) เพื่อเป็นหลักฐานในการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มกับเจ้าหน้าที่สรรพากรที่ประจำ ณ ท่าอากาศยานเชียงใหม่บริเวณห้องพักผู้โดยสารขาออก
    ระหว่างประเทศต่อไป
   

กรณีสินค้าเล็กราคาแพงประเภทอัญมณี ที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเรือนหรือของรูปพรรณ ทองรูปพรรณ นาฬิกา แว่นตา หรือปากกา เจ้าหน้าที่ศุลกากรทำหน้าที่ตรวจรับรองสินค้าที่ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มแก่ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ณ จุดตรวจเคาน์เตอร์ศุลกากร บริเวณห้องพักผู้โดยสารขาออกระหว่างประเทศ ท่าอากาศยานเชียงใหม่ หลังผ่านการตรวจประทับตราเจ้าหน้าที่ศุลกากรแล้วนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่สรรพากรเพื่อตรวจสินค้าอีกครั้งหนึ่ง ณ เคาน์เตอร์สรรพากร บริเวณห้องผู้โดยสารขาออกระหว่างประเทศท่าอากาศยานเชียงใหม่

 

การรับบรรทุกของที่ผ่านพิธีการในการขนสินค้าออกจากฝ่ายบริการศุลกากรที่ 1 และ 2

1. ของที่ผู้โดยสารขาออกนำติดตัวขึ้นเครื่อง ผู้โดยสารขาออกผ่านพิธีการใบขนสินค้าขาออกจากฝ่ายบริการศุลกากรที่ 1 และ 2 ด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่ แล้วต้องการนำของส่งออกไปพร้อมกับตน ต้องนำของและใบส่งสินค้าออกที่ผ่าน
  พิธีการตรวจปล่อยแล้วจากฝ่ายควบคุมและตรวจสอบทางศุลกากร ด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่ มาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรประจำฝ่ายศุลกากรที่ 1 หรือ 2 ด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่ เจ้าหน้าที่ฯ จะตรวจนับจำนวน เครื่องหมาย
  เลขหมายสภาพหีบห่อ และจัดเจ้าพนักงานศุลกากรคุมส่งสายพานลำเลียงกระเป๋าและสัมภาระของผู้โดยสารที่เดินทางไปต่างประเทศ และทำการบันทึกข้อมูลการรับบรรจุของในใบขนสินค้าออก
   
  กรณีของตามใบสินค้าขาออกเป็นของหีบห่อหรือเป็นของมูลค่าสูงไม่สามารถจะ LOAD ไปทางสายพานลำเลียงได้ ผู้โดยสารจะนำติดตัวถือไปพร้อมกับตนไว้สำหรับการเดินทางโดยสายการบินที่เดินทางจากท่าอากาศยานเชียงใหม่ ออกนอก
  ราชอาณาจักรโดยไม่ผ่านท่าในประเทศอีกเท่านั้น
   
2.

ของที่ส่งออกทางไปรษณีย์ผู้ส่งออกผ่านพิธีการใบขนสินค้าขาออกจากฝ่ายบริการศุลกากรที่ 1  หรือ 2 แล้วต้องการนำของส่งออกทางไปรษณีย์ ต้องนำของและใบขนส่งสินค้าขาออกที่ผ่านพิธีการตรวจปล่อยแล้ว มาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร

  ประจำฝ่ายควบคุมและตรวจสอบทางศุลกากร ด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่ เจ้าหน้าที่ฯ จะตรวจนับจำนวน เครื่องหมาย สภาพหีบห่อ และจัดเจ้าพนักงานศุลกากรคุมส่งที่ทำการไปรษณีย์ ท่าอากาศยานเชียงใหม่ และทำการบันทึกข้อมูล
  การรับบรรทุกของในใบขนสินค้าขาออก

 

 







เงินด่วนนอกระบบ โอนเข้าบัญชี