Set Default Page Add to Favorites Send This Page to Friend ReadyPlanet.com
dot dot
dot
กู้เงินด่วน
dot
bulletประวัติกรมศุลกากร
bulletวิสัยทัศน์ - พันธกิจกรมศุลกากร
bulletโครงสร้างการบริหาร
bulletแผนที่ตั้งกรมศุลกากร
bulletโครงสร้างด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่
bulletแผนที่ตั้งด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่
bulletทำเนียบนายด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่
bulletคำรับรองการปฏิบัติราชการ
bulletสมุดโทรศัพท์
dot
บริการ
dot
bullete - Customs
bullete - Tracking
bulletข่าวกรมศุลกากร
bulletจุลสาร
bulletอัตราแลกเปลี่ยน
bulletบุคคลทั่วไป/นักท่องเที่ยว/ส่วนราชการ
dot
แบบฟอร์ม/คำร้องต่าง ๆ
dot
bulletแบบฟอร์มและคำร้อง
dot
พิธีการเฉพาะเรื่อง
dot
bulletการนำขอรับสิ่งของทางไปรษณีย์
bulletพิธีการศุลกากรสำหรับผู้โดยสาร
bulletการขอรับสิ่งของทางคลังสินค้ากรณีของใช้ส่วนตัว ของใช้ในครัวเรือน
dot
สถิติ / ข้อมูลนำเข้า-ส่งออก
dot
bulletมูลค่าการนำเข้า - ส่งออก สูงสุด 10 อันดับ ปี 2552
bulletมูลค่าการนำเข้า - ส่งออก สูงสุด 10 อันดับ ปี 2553
bulletมูลค่าการนำเข้า - ส่งออก สูงสุด 10 อันดับ ปี 2554
bulletมูลค่าการนำเข้า - ส่งออก สูงสุด 10 อันดับ ปี 2555
dot
ข้อมูลที่น่าสนใจ
dot
bulletสายการบินนานาชาติที่เชียงใหม่
bulletสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร
dot
ด่านศุลกากรในสังกัด ศภ.3
dot
bulletสำนักงานศุลกากรภาคที่ 3
bulletด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่
bulletด่านศุลกากรแม่สาย
bulletด่านศุลกากรแม่สอด
bulletด่านศุลกากรเชียงแสน
bulletด่านศุลกากรเชียงของ
bulletด่านศุลกากรแม่ฮ่องสอน
bulletด่านศุลกากรเชียงดาว
bulletด่านศุลกากรแม่สะเรียง
bulletด่านศุลกากรทุ่งช้าง
dot
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
dot
bulletกรมศุลกากร
bulletกระทรวงการคลัง
bulletกระทรวงพาณิชย์
bulletกระทรวงกลาโหม
bulletสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
bulletสำนักสืบสวนและปราบปราม
bulletกรมสอบสวนคดีพิเศษ
bulletกรมส่งเสริมการส่งออก
bulletกรมการค้าต่างประเทศ
bulletการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
bulletสมาคมผู้ประกอบการขนส่งภาคเหนือ
bulletกรมเจรจาการค้าต่างประเทศ
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมสรรพสามิต
bulletสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
bulletกรมศิลปากร
bulletกรมปศุสัตว์
bulletกรมประมง
bulletสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
bulletกระทรวงเกษตร
bulletสำนักงานปราบปรามยาเสพติด
dot
จังหวัดในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง
dot
bulletจังหวัดเชียงใหม่
bulletจังหวัดลำพูน
bulletจังหวัดลำปาง
bulletจังหวัดแพร่
dot
รวม web ที่น่าสนใจ
dot
bulletเครือข่ายกาญจนาภิเษก
bulletรัฐบาลไทย
bulletท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
bulletสนง. คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.ร)
bulletราชบัณฑิตยสถาน
bulletคนไทยดอทคอม
bulletอินเตอร์เน็ตตำบล




พิธีการนำเข้าของเอกสิทธิ์หรือของที่ได้รับบริจาค article

 พิธีการนำเข้าของเอกสิทธิ์หรือของที่ได้รับบริจาค

ของที่ได้รับเอกสิทธิ์ หมายถึง ของที่ได้รับเอกสิทธิ์ตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีอยู่ต่อองค์การสหประชาชาติ หรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือตามสัญญากับนานาประเทศ หรือทางการทูต ซึ่งได้ปฏิบัติต่อกันโดยอัธยาศัยไมตรีซึ่งการนำเข้าของเหล่านี้จะได้รับการ ยกเว้นอากร 
ของที่ได้รับบริจาค หมายถึง 
• ของที่นำเข้ามาหรือส่ง ออกไปเพื่อแจกให้เปล่าเป็นการสาธารณกุศลแก่ประชาชน โดยผ่านส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินหรือองค์การ สาธารณกุศล
• ของที่นำเข้ามาเพื่อบริจาคเป็นสาธารณประโยชน์แก่ส่วนราชการ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินหรือองค์การสาธารณกุศล

หลักเกณฑ์การยกเว้นอากรของที่ได้รับเอกสิทธิ์ที่นำเข้ามาตามข้อ ผูกพันที่ประเทศไทยมีต่อนานาประเทศ มีดังนี้
(1)    ตามข้อผูกพันกับองค์การสหประชาชาติและทางการทูต การนำของเข้าของหน่วยงานสังกัดองค์การสหประชาชาติและสถานทูตชาติต่าง ๆ จะอยู่ในความควบคุมดูแลของกระทรวงต่างประเทศ กรมพิธีการทูต ซึ่งจะเป็นผู้พิจารณาทั้งชนิดของของและปริมาณนำเข้าที่จะได้รับยกเว้นอากร ตลอดจนควบคุมดูแลการนำของเข้าโดยได้รับยกเว้นอากรของเจ้าพนักงานของหน่วยงาน ที่สังกัดองค์การสหประชาชาติและข้าราชการสถานทูต ซึ่งจะได้รับสิทธิยกเว้นอากรในการนำเข้าของใช้ส่วนตัว ของใช้ในบ้านเรือน และรถยนต์คนละหนึ่งคัน 
(2)    ตามสัญญาข้อตกลงความช่วยเหลือที่นานาประเทศให้แก่ประเทศไทย สัญญาดังกล่าวกำหนดให้รัฐบาลไทยยกเว้นอากรแก่ของที่นำเข้ามาใช้ในโครงการ ความช่วยเหลือตลอดจนให้ยกเว้นอากรแก่ของใช้ส่วนตัว ของใช้ในบ้านเรือนของผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยตาม โครงการความช่วยเหลือ และรถยนต์ของผู้เชี่ยวชาญคนละ 1 คัน ทั้งนี้ ของเหล่านั้นจะต้องนำเข้ามาก่อนที่ผู้เชี่ยวชาญเข้ามาไม่เกิน 1 เดือน หรือไม่เกิน 6 เดือนนับแต่ผู้เชี่ยวชาญเข้ามาถึงประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดยสัญญาข้อตกลงความช่วยเหลือที่นานาประเทศให้แก่ประเทศไทยมีดังต่อไปนี้ 
(2.1)    สัญญาข้อตกลงความช่วยเหลือที่ผ่านกรมวิเทศสหการ ไม่ว่าโครงการความช่วยเหลือนั้นจะอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบและดำเนินการ ของกรมใดก็ตาม กรมวิเทศสหการจะควบคุมและดูแล การนำของเข้าและปฏิบัติพิธีการศุลกากร
(2.2)    สัญญาข้อตกลงที่ไม่ผ่านกรมวิเทศสหการ เป็นสัญญาความตกลงที่หน่วยราชการอื่น ๆ ทำกับนานาประเทศ โดยในสัญญากำหนดให้ยกเว้นอากรดังเช่นที่กล่าวในข้อ (2) และสัญญาความตกลงนั้นจะต้องผ่านคณะรัฐมนตรีเห็นชอบด้วย การพิจารณายกเว้นอากรของที่นำเข้าตามสัญญาความตกลงนี้ กรมศุลกากรจะเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ
(2.3)     ข้อตกลงที่ประเทศไทยมีต่อยูเนสโกตามความตกลงฟลอเรนส์ ซึ่งเป็นการตกลงให้ยกเว้นอากรในการนำเข้าวัสดุเพื่อการศึกษาวิทยาศาสตร์และ วัฒนธรรมที่นำเข้าโดยสถาบันการศึกษาและส่วนราชการ การนำของเข้าตามความตกลงฟลอเรนส์จะผ่านการพิจารณาของ คณะกรรมการพิจารณายกเว้นอากรนำเข้าวัสดุการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม ที่แต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ศุลกากรเข้าร่วมเป็นกรรมการ โดยใช้ความตกลงการนำเข้าฟลอเรนส์และกฎหมายศุลกากรเป็นหลักใหญ่ในการพิจารณา เมื่อผลการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณายกเว้นอากรฯเป็นประการใด คณะกรรมการฯ จะแจ้งมติผลการพิจารณานั้น ๆ มาให้กรมศุลกากรและหน่วยงานผู้ขอยกเว้นอากรขาเข้าทราบและดำเนินการในส่วนที่ เกี่ยวข้องต่อไป สำหรับสิ่งของต่าง ๆ ที่อยู่ในขอบข่ายของความตกลงฟลอเรนส์ ซึ่งหน่วยงานและส่วนราชการพึงจะขอยกเว้นอากรนำเข้าได้นั้น ได้แก่ สิ่งของตามภาคผนวกของความตกลงการนำเข้าฟลอเรนส์ ดังต่อไปนี้
ภาคผนวก ก. หนังสือ สิ่งพิมพ์ และเอกสาร
ภาคผนวก ข. ศิลปวัตถุ และสิ่งที่นักสะสมรวบรวมไว้ ซึ่งเกี่ยวกับการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม
ภาค ผนวก ค. โสตทัศนวัสดุทางการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม
ภาคผนวก ง. เครื่องมือเครื่องใช้วิทยาศาสตร์
ภาคผนวก จ. สิ่งของสำหรับคนตาบอด
(3)    ตามพระราชบัญญัติต่าง ๆ ที่บัญญัติให้ยกเว้นอากรนำเข้าแก่ของที่นำเข้ามาใช้ในโครงการต่าง ๆ เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ พ.ศ. 2514 ซึ่งบัญญัติตามความในมาตรา 5 ให้ยกเว้นอากรขาเข้าและภาษีการค้าสำหรับเรือ ยานยนต์ วัสดุ และอุปกรณ์ที่ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้เฉพาะเมื่อศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับความ เห็นชอบในการเข้ามาในราชอาณาจักรจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แล้วเป็นต้น

หลักเกณฑ์การยกเว้นอากรของที่ได้บริจาค
(1)    ผู้นำเข้าที่มีสิทธิได้รับยกเว้นอากร คือ
(1.1) ส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตั้งแต่ระดับกรมขึ้น ไป
(1.2) องค์การสาธารณกุศลตามประกาศกระทรวงการคลัง 
(2)    ของนำเข้ามาหรือส่งออกไปเพื่อแจกให้เปล่าเป็นการสาธารณกุศลแก่ประชาชน โดยผ่านส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินหรือองค์การ สาธารณกุศล ที่อยู่ในข่ายได้รับยกเว้นอากร ได้แก่
(2.1) ของที่สถาบันหรือมูลนิธิในต่างประเทศส่งเข้ามา โดยผ่านส่วนราชการหรือองค์การสาธารณกุศลในประเทศ เพื่อแจกให้เปล่าเป็นสาธารณกุศลแก่ประชาชนต้องเป็นของที่จำเป็นต้องใช้ในการ ดำรงชีพตามปกติวิสัย เช่น อาหาร เสื้อผ้า ผ้าห่มกันหนาว เป็นต้น
(2.2) มีผู้บริจาคเงินให้แก่ส่วนราชการหรือองค์การสาธารณกุศลภายในประเทศ เพื่อซื้อของเข้ามาแจกให้เปล่าเป็นสาธารณกุศลแก่ประชาชน ทั้งนี้โดยถือว่ามีผู้บริจาคให้แก่ส่วนราชการและองค์การสาธารณกุศล เพื่อนำไปแจกแก่ประชาชน อย่างไรก็ตาม ของที่ส่วนราชการหรือองค์การสาธารณกุศลนั้นเองเป็นผู้จ่ายเงินซื้อมา เพื่อแจกให้เปล่าเป็นสาธารณกุศลแก่ประชาชน จะไม่ไดัรับการยกเว้นอากร เพราะกรณีนี้ถือว่าไม่มีการบริจาค 
(3)    ของที่นำเข้ามาเพื่อบริจาคเป็นสาธารณประโยชน์แก่ส่วนราชการ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินหรือองค์การสาธารณกุศล ที่จะเข้าข่ายได้รับยกเว้นอากร ได้แก่
(3.1) ของซึ่งนำเข้ามาโดยตรงเพื่อบริจาคให้แก่ส่วนราชการหรือองค์การสาธาณกุศล
(3.2) บริจาคให้เป็นเงินโดยระบุว่า เพื่อซื้อของอย่างใดอย่างหนึ่งที่แน่นอนเข้ามาในประเทศและมีหลักฐานมอบให้ ส่วนราชการ หรือองค์การสาธารณกุศลนั้นเป็นผู้นำเข้าเอง แต่ทั้งนี้ต้องปฏิบัติตามระเบียบที่กรมศุลกากรกำหนด และให้รวมถึงการสั่งซื้อเครื่องมือในทางการแพทย์และวัสดุอุปกรณ์ในการก่อ สร้างประเภทที่ไม่มีการผลิตภายในประเทศด้วย 
สำหรับ ของที่ไม่อยู่ในข่ายได้รับยกเว้นอากร ได้แก่ ยานพาหนะประเภทต่าง ๆ ยกเว้น รถแทรกเตอร์ รถยนต์โดยสารสาธาณะที่ออกแบบสำหรับขนส่งผู้โดยสารตั้งแต่สิบคนขึ้นไปรวมทั้ง คนขับ (รถตู้) รถบรรทุกคนไข้ที่ใช้สำหรับส่วนราชการ โรงพยาบาลหรือองค์การสาธารณกุศล ซึ่งพิสูจน์ให้เป็นที่พอใจของอธิบดีกรมศุลกากรและจำนวนพอสมควรแก่กิจการนั้น ๆ รถดั๊มพ์ หรือรถดับเพลิง เป็นต้น

เอกสารที่ควรจัดเตรียมในการนำเข้าของเอกสิทธิ์หรือของที่ได้รับ บริจาค
(1)     เอกสารทั่วไปที่ใช้ในการผ่านพิธีการ
• ใบขน สินค้าขาเข้า
• บัญชีราคาสินค้า
• ใบตราส่งสินค้า 
• ใบสั่งปล่อย 
(2)     เอกสารที่ใช้เพิ่มเติมกรณีขอยกเว้นอากรของเอกสิทธิ์
• หนังสือ ขอยกเว้นอากรของกระทรวงการต่างประเทศพร้อมแบบฟอร์ม D.P.I. (ENTRY FORM FOR DIPLOMATIC CLEARANCE OF GOODS IMPORTED BY DIPLOMATIC MISSIONS INTERNATIONAL ORGANIZTIONS) ที่ออกให้โดยกระทรวงการต่างประเทศ (กรณีของที่ได้รับเอกสิทธิ์ทางการทูต และข้อผูกพันกับองค์การสหประชาชาติ)
• สัญญา ความตกลงช่วยเหลือระหว่างประเทศไทยกับประเทศอื่น ๆ ฉบับสมบูรณ์ (กรณีของที่นำเข้าตามโครงการความช่วยเหลือที่ไม่ผ่านกรมวิเทศสหการ)
• หนังสือ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีรับรองว่าสัญญาความตกลงช่วยหลือ (กรณีของที่นำเข้าตามโครงการความช่วยเหลือที่ไม่ผ่านกรมวิเทศสหการ)
• ผล การพิจารณาให้ยกเว้นอากร (กรณีของที่นำเข้าตามโครงการความช่วยเหลือที่ไม่ผ่านกรมวิเทศสหการ)
(3)     เอกสารที่ใช้เพิ่มเติมกรณีขอยกเว้นอากรของบริจาค
• หนังสือ ขอยกเว้นอากรของส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ตั้งแต่ระดับกรมขึ้นไปหรือองค์การสาธารณกุศลผู้ได้รับบริจาค โดยหนังสือขอยกเว้นอากรจะต้องแจ้งชนิดของ จำนวนของที่ได้รับบริจาคและชื่อผู้บริจาค รวมถึงให้ระบุหนังสือขอยกเว้นอากรด้วยว่า การบริจาคมีเงื่อนไขหรือข้อผูกพันหรือไม่อย่างไร 
• เอกสารที่ต้องแนบไป พร้อมกับหนังสือขอยกเว้นอากร ได้แก่
(ก) เอกสารแสดงความจำนงบริจาคของผู้บริจาคเป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งผู้บริจาคได้ แสดงความจำนงไว้ก่อนวันที่นำของเข้ามาในราชอาณาจักร
(ข) กรณีรับบริจาคเป็นเงินเพื่อจะซื้อของอย่างใดอย่างหนึ่งตามวัตถุประสงค์ของ ผู้บริจาค ให้ส่งหลักฐานการรับเงินบริจาค เช่น สำเนาใบเสร็จรับเงิน
(ค) เอกสารแสดงรายการของและราคาของที่บริจาค เช่น บัญชีราคาสินค้าและใบเสนอราคา สัญญาซื้อขายในกรณีซื้อขายผ่านตัวแทนจำหน่ายในประเทศ 
โดยเอกสารเหล่า นี้ต้องมีผู้ลงนามรับรองพร้อมทั้งระบุชื่อ นามสกุล และตำแหน่งของผู้ลงนามรับรองทุกหน้า พร้อมทั้งระบุชื่อเอกสาร หมายเลขเอกสารและจำนวนฉบับ ไว้ในหนังสือขอยกเว้นอากรด้วย
(4)     เอกสารอื่น ๆ (ถ้ามี) เช่น หนังสือมอบอำนาจ

ขั้นตอนการปฏิบัติพิธีการศุลกากรสำหรับการนำเข้าของเอกสิทธิ์หรือของที่ ได้รับบริจาค
(1)     ผู้นำเข้ายื่นใบขนสินค้าขาเข้าที่กรอกข้อความเรียบร้อยแล้วที่ฝ่ายเอกสิทธิ์ และส่งเสริมการลงทุน ส่วนการนำเข้าสำนักงานศุลกากรนำเข้าท่าเรือกรุงเทพ หรือ สำนักงาน/ด่านศุลกากรที่นำของเข้าพร้อมเอกสารประกอบ
(2)     กรมศุลกากรทำการตรวจสอบเอกสารเสนอขอยกเว้นอากร ตรวจสอบการคำนวณราคาของ หากถูกต้องจะออกเลขที่ยกเว้นอากรและสั่งการตรวจ หลังจากนั้นจะมอบเอกสารทั้งหมดคืนให้ผู้นำเข้า
(3)     ผู้นำเข้านำเอกสารไปแสดงที่ส่วนตรวจสินค้าเพื่อขอรับของออกจากอารักขา ศุลกากร
(4)     สำหรับของที่นำเข้าตามความตกลงฟลอเรนส์ที่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการ พิจารณายกเว้นอากรนำเข้าวัสดุเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมผู้นำเข้าต้องยื่นเรื่องขอยกเว้นอากรก่อนที่จะนำของ เข้ามาในประเทศที่สำนักงานเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยา ศาสตร์แห่งสหประชาชาติ กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อได้รับอนุมัติให้ยกเว้นอากรแล้วกรมศุลกากรจะส่งหนังสือขอยกเว้นอากรของ คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์แห่งสหประชาชาติ ไปยังหน่วยงานพิธีการและประเมินอากรของด่านศุลกากรที่นำของเข้า เพื่อปฏิบัติพิธีการยกเว้นอากรศุลกากรให้แก่ผู้นำของเข้าต่อไป
(5)     สำหรับของบริจาค หากองค์การสาธารณกุศลเป็นผู้ได้รับบริจาคและได้รับบริจาคเป็นเงินเพื่อซื้อ ของอย่างใดอย่างหนึ่งตามวัตถุประสงค์ของผู้บริจาค ถ้าเป็นของที่มีมูลค่าเกินกว่าห้าหมื่นบาทขึ้นไป ให้องค์การสาธารณะกุศลนั้นยื่นคำขอยกเว้นอากรก่อนที่จะดำเนินการสั่งซื้อ สิ่งของจากต่างประเทศ พร้อมทั้งระบุวันเดือนปีที่คาดว่าของจะมาถึงด้วย

หมายเหตุ : การยกเว้นอากรของที่นำเข้าที่ได้รับเอกสิทธิ์นี้ เป็นการยกเว้นให้แก่ผู้มีเอกสิทธิ์เป็นการเฉพาะตัวบุคคลหรือเฉพาะองค์กรเท่า นั้น หากผู้ที่มีสิทธิได้รับการยกเว้นอากรโอนของที่ได้รับการยกเว้นอากรไปให้กับ ผู้ที่ไม่มีสิทธิหรือนำไปใช้ในโครงการอื่นที่ไม่ได้รับสิทธิยกเว้นอากร ของนั้นจะสิ้นสิทธิในการยกเว้นอากรทันที ยกเว้นรายการดังต่อไปนี้
(1)    เสบียง ยารักษาโรค ของใช้สิ้นเปลือง และของใช้ส่วนตัว ซึ่งบุคคลที่มีสิทธิได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากรนำเข้ามาเพื่อใช้เอง บรรดาที่มีเหลืออยู่ในวันที่สิทธิได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากรสิ้นสุด
(2)    ของใช้ในบ้านเรือนที่นำเข้ามาเกินสองปีซึ่งบุคคลที่มีสิทธิได้รับยกเว้นหรือ ลดหย่อนอากรนำเข้ามาเพื่อใช้เอง
(3)    ของที่พิสูจน์ให้เป็นที่พอใจอธิบดีกรมศุกลกากรว่าชำรุดหรือเสียหายจนไม่อาจ จะซ่อมเพื่อใช้การต่อไปอีกได้
(4)    ของอื่น ๆ ที่ผู้มีสิทธิได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากรได้นำเข้ามาในราชอาณาจักรเกินห้า ปี
การยกเว้นนี้ ไม่รวมถึงรถยนต์และยานพาหนะอย่างอื่นที่ใช้เครื่องยนต์ เว้นแต่กรณีต่อไปนี้
รถ ยนต์ที่ได้รับเอกสิทธิ์ทางการทูต องค์การระหว่างประเทศหรือเอกสิทธิ์ภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ จะได้รับยกเว้นในกรณีดังต่อไปนี้
(1)    รถยนต์ซึ่งบุคคลที่มีเอกสิทธิ์ทางการทูตองค์การระหว่างประเทศหรือเอกสิทธิ์ ภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ นำเข้ามาหรือสั่งเข้ามาก่อน 5 เมษายน 2528 นับแต่วันนำเข้าเกินกว่า 5 ปี
(2)    รถยนต์บางประเภทที่มีลักษณะตามที่กรมศุลกากรกำหนดไว้ (ตามประกาศกระทรวงการคลังที่ ศก.5/2532 และศก.13/2533) ที่นำเข้ามาใช้ภายใต้โครงการความช่วยเหลือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่าง ประเทศหรือกับองค์การระหว่างประเทศ และภายหลังสิ้นสุดโครงการได้โอนไปให้กับส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบ บริหารราชการแผ่นดิน




พิธีการศุลกากร

การชำระภาษี article
การชดเชยค่าภาษีอากร article
การสำแดงเงินตราต่างประเทศ article
สินค้าตามประกาศสาธารณสุข article
ของต้องห้ามและของต้องกำกัด article
การวิเคราะห์สินค้า article
ใบสุทธินำกลับ article
พิธีการศุลกากรอื่น ๆ article
พิธีการศุลกากรไปรษณีย์ article
พิธีการ A.T.A CARNET article
พิธีการนำเข้าของใช้ในบ้านเรือน article
พิธีการนำเข้ายานพาหนะส่วนบุคคล article
การนำเข้าของเพื่อจัดการประชุมระหว่างประเทศ article
พิธีการส่งออก article
พิธีการนำเข้า article



เงินด่วนนอกระบบ โอนเข้าบัญชี